ERTA

 

วิธีวิเคราะห์

Tech Download

 

Learning Video

 

NEWS

 

Courses

 

LINKS

 

Applied Ergonomics

 

Ergonomic Society of Thailand

 

International Ergonomics Association

 

 

 

A flag with a cross with Great Britain in the background

Description automatically generated

 

Home

 

Contact us : tech@erta.app

 

การวิเคราะห์งานวนซ้ำตามหลักการยศาสตร์

(Ergonomic Repetitive Task Analysis, ERTA)

       

        เป็นกระบวนการที่ใช้ในการประเมินและปรับปรุงลักษณะตามหลักการยศาสตร์ หรือ เออร์โกโนมิกส์ (Ergonomics) ของงานที่ต้องทำซ้ำๆ ในสถานีงาน โดยเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์งานเพื่อระบุความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก หรือการบาดเจ็บอื่นๆ จากนั้นจึงดำเนินมาตรการเพื่อลดหรือขจัดความเสี่ยงเหล่านั้น เป้าหมายของ ERTA คือการปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลผลิต และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฎิบีติงาน โดยการออกแบบงานตามหลักการยศาสตร์ ให้มากขึ้น และก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฎิบัติงานน้อยลง

 

        ในการวิเคราะห์งานวนซ้ำตามหลักการยศาสตร์ ปัจจัยต่างๆ เช่น ความถี่ของการทำงาน (Frequency) การทำงานซ้ำๆ (Repetitiveness) ปริมาณงาน (Task Intensity) ระยะเวลาฟื้นตัวของผู้ปฏิบัติงาน (Recovery Time) และระยะเวลาโดยรวมของการออกแรงทางกายภาพ  (Overall Duration of Task) ล้วนถูกนำมาพิจารณา

        

        การใช้พลังงานของมนุษย์ (Human Energy Expenditure) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การใช้กำลังทางกาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามปริมาณงานนั้นๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงของการบาดเจ็บของระบบโครร่าง กล้ามเนื้อและกระดูก และประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม

 

         เมื่อมีการประเมินปริมาณงาน และพลังงานของมนุษย์ ที่ต้องใช้ในการทำงาน นักการยศาสตร์จะสามารถชี้บ่ง งานที่อาจต้องใช้แรงกายมาก หรือต้องใช้พลังงานมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความเหนื่อยล้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และจะสามารถแนะนำ เปลี่ยนแปลง วิธีการปฏิบัติงาน เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เพื่อลดความเครียดทางกายภาพ และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยโดยรวมได้